8 เมษายน 2555

หำยน หรือ หำโยน หรือ หำยนต์

          ไม่ว่าจะเขียนอย่างไร วัตถุสิ่งนี้ คือไม้แกะสลักเป็นลวดลายสวยงาม ติดไว้เหนือประตู ของบ้านแบบล้านนา ในปัจจุบัน หำยนต์ ติดกันไว้โดยไม่ได้มีความหมายอะไรมากกว่าความสวยงาม เจ้าของบ้านไม่รู้ด้วยซ้ำว่าติดเอาไว้ทำไม เห็นเขาติดก็ติด ว่ากันว่า เป็นเอกลักษณ์ หรือ ลักษณะของบ้านทรงล้านนาที่ต้องมี ถ้าไม่ติด ก็กลัวจะไม่ได้เป็นบ้านแบบล้านนา ในทางคติความเชื่อ ได้แบ่งแยกเป็นสองแนวทาง บ้างก็ว่าดี บ้างก็ว่าไม่ดี ซึ่งได้มีการอธิบายความไว้น่าสนใจ ดังนี้
            ด้านที่มองว่า หำยนต์ เป็นสิ่งดี อธิบายว่า คำว่า หำยนต์ โดยอาจารย์มณี พยอมยงค์ ปราชญ์พื้นบ้านล้านนาให้ทัศนะว่าเป็นคำดี ๆ มาจากคำว่า อรหํ + ยนฺต คือ ยันต์ของพระอรหันต์ซึ่งจะคุ้มครองโพยภัยให้คนในบ้านเพื่อป้องกันภูติผีปีศาจหรือสิ่งอัปมงคลเข้าบ้าน อาจารย์อุดม รุ่งเรืองศรี ปราชญ์พื้นบ้านชาวล้านนาอีกท่านหนึ่งได้ให้ความหมายของหำยนต์ในอีกทัศนะ หนึ่งว่า หำยนต์ น่าจะเรียกว่า หัมยนต์ มากกว่า สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า หมมิย+อนต อ่านว่า หัมมิยะอันตะ คำว่า "หัมมิยะ" แปลว่า ปราสาทโล้น หมายถึงเพิงบังแดดชั่วคราว ส่วนคำว่า "อันตะ" แปลว่า ยอด ดังนั้น "หัมมิยะอันตะ" แปลว่า ปราสาทที่ไม่มียอด จึงอาจเป็นส่วนที่ตกแต่งในส่วนยอดของปะรำที่ห้อยลงด้านล่าง ท่านยังแสดงความคิดเห็นว่า หำยนต์ เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นคาถาอาคม เป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องการให้เกิดความสวยงามแก่ตัวบ้านเท่านั้นเอง
              ด้านที่มองว่าไม่ดี อธิบายว่า  เป็นเครื่องหมายแห่งทาส หำยนต์เป็นไม้กระดานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านบนเรียบ ด้านล่างฉลุเว้าเป็นรูปเสี้ยววงกลมสองรูปมาชนกัน ตรงกลางทำเป็นส่วนแหลมมาทางช่องประตู หำยนต์หรือหำโยนนี้ ทำไว้เป็นการข่ม ตามพิธีไสยศาสตร์ หำ แปลว่า อัณฑะอาจจะเป็นได้ของสัตว์หรือคนเพศผู้ ยนต์คงจะหมายถึงศาสตร์อันลี้ลับ หำยนต์หรือหำโยนนั้นเล่ามาว่า ครั้งนครเชียงใหม่ได้เสียเอกราชให้กับพม่า พม่ามีความกลัวว่าในนครเชียงใหม่จะมีผู้มีบุญญากอบกู้เอกราชจึงบังคับให้ชาวเชียงใหม่ทุกครอบครัวสร้างบ้านให้มีลักษณะข่มตนเอง อาจารย์ไกรศรี นิมมานเหมินท์ กล่าวไว้ในหนังสือศิลปลานนาไทย เรื่องเรือนแบบล้านนา ว่า เมื่อครั้งที่สมัยพม่าเข้าปกครองล้านนา ได้บังคับให้คนเมืองอยู่อาศัยในบ้านที่มีรูปร่างคล้ายโลงศพของพม่า และหำยนต์นี้เป็นอัณฑะของพม่านั้นเอง เมื่อเจ้าของบ้านชาวล้านนาและคนในครอบครัวเดินเข้าออกห้องและลอดใต้อัณฑะ นั้นก็จะถูกข่มและทำลายจิตใจไม่ให้คิดกระด้างกระเดื่องต่อสู้ขับไล่พม่า ซึ่งไปสอดคล้องกับความคิดเห็นของ อาจารย์เฉลียว ปิยะชน กล่าวไว้ในหนังสือเรือนกาแลว่า เมื่อชาวล้านนาจะขายบ้านหรือซื้อบ้านต่อจากเจ้าของบ้านคนเก่า ก็จะทำพิธีด้วยการตีหำยนต์แรงๆ เพื่อทำลายความขลัง การทุบตีหำยนต์เปรียบเหมือนการตีลูกอัณฑะวัวควายในการทำหมัน ซึ่งเป็นการทำให้หมดสมรรถภาพ การหมดความศักดิ์สิทธิ์ของหำยนต์ก็เช่นกัน
          แต่ไม่ว่าในอดีตความหมายจะเป็นอย่างไร ดี หรือ ร้าย แต่ในปัจจุบัน หำยนต์ เป็นศิลปกรรม ที่หาดูได้ยากเต็มที เพราะเรือนล้านนา ที่ถูกต้องตามลักษณะแท้ ๆ แทบจะไม่เหลืออีกแล้ว

กาแล

กาแล อัตลักษณ์ หรือ อัปลักษณ์ ของคนล้านนา
        การแกะสลักกากบาดไขว้กัน อยู่ตรงจั่วของหลังคาบ้านแบบล้านนา ที่ปัจจุบันหาดูไม่ค่อยได้แล้ว แต่ถ้าเป็นบ้านทรงล้านนา จะขาดเสียไม่ได้ โดยกล่าวอ้างเอาเป็น "อัตลักษณ์ " ของบ้านล้านนา แต่มีหลายความเชื่อที่ได้อธิบายว่า กาแล ไม่ใช่สิ่งที่เป็นมงคล โดยอธิบายว่า
1. เป็นสัญลักษณ์แบ่งแยกเรือนคนล้านนากับเรือนของคนพม่าที่เข้ามาอยู่ในช่วงที่พม่าปกครอง
2. การนำไม้ไผ่มาไขว้กันเป็นกากบาดไว้ที่หลังคาบ้านเพื่อให้รู้ว่ายอมจำนนต่อพม่า
3.เมื่อเกิดการตายเกิดขึ้น ทางพม่าก็เอากาแลมาทำเป็นสัญญลักษณ์ไว้เพื่อเป็นการสะกดวิญญาณไว้ เพื่อให้เป็นข้าทาสบริวารของแผ่นดินพม่าต่อไป 
4. เป็นเครื่องหมายที่ใช้ข่ม ไม่ให้คนมีบุญมาเกิดในเมืองเชียงใหม่ มีอยู่ยุคหนึ่งที่พม่ายึดเมืองเขียงใหม่ได้กลัวคนเชียงใหม่มาตีคืนจึงได้ทำให้เชียงใหม่ตกขึด 
5.  เป็นเครื่องหมายที่พม่าทำไว้เมื่อครั้งรุกรานเชียงใหม่ บ้านใดที่เข่นฆ่าปล้นสดมภ์แล้วจะทำเครื่องหมายกากบาดนี้ไว้เป็นสัญลักษณ์เพื่อไม่เสียเวลาปล้นสดมภ์ กับบ้านนี้อีก ไปเข่นฆ่าปล้นบ้านอื่นต่อไป ชาวเชียงใหม่ที่รอดชีวิตรู้อุบายนี้จึงทำเครื่องหมายกาแลไว้ที่บ้านของตน เพื่อให้รอดจากการกระทำที่ชั่วร้ายของพวกพม่า
        เมื่อเป็นดังนี้ กาแลจึงไม่น่าจะเป็นมงคลเท่าใดนัก น่าจะออกไปทาง อัปลักษณ์ ของล้านนา เสียมากกว่า 

7 เมษายน 2555

พระธาตุดวงเดียว2

พระธาตุดวงเดียว อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

พระธาตุดวงเดียว อำเภอลี้


พฤติกรรมรวมหมู่ (COLLECTIVE BEHAVIOR)


          พฤติกรรมของสมาชิกสังคมโดยทั่วไป มักจะเป็นไปตามความคาดหวังของสมาชิกอื่น ๆ ในสังคม แต่ในบางกรณพี ฤติกรรมของบุคคลปกติก็ไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวัง หรือตามบรรทัดฐานของสังคม และอาจมีพฤติกรรมซึ่งคนปกติทั่วไปไม่กระทำ เพราะเห็นว่าน่าเกลียด หรือโหดร้ายผิดมนุษย์ เหตุใดพฤติกรรมเช่นนี้จึงเกิดขึ้นกับปุถุชนทั่วไปในสังคมได้ เป็นเรื่องที่นักสังคมวิทยาให้ความสนใจศึกษาถึงสาเหตุ และปัจจัยที่นำ ไปสู่พฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งเราเรียกว่าพฤติกรรมรวมหมู่
พฤติกรรมรวมหมู่ เป็นพฤติกรรมของฝูงชนที่เกิดขึ้น เมื่อกลุ่มคนพบสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ไม่มีบรรทัดฐานและกฎให้ยึดถือพฤติกรรมที่พวกเขาตอบโต้สถานการณ์นั้นจึงอาจแตกต่างอย่างมากจากเวลาปกติความหมายของพฤติกรรมรวมหมู่ (collective behaviors) คือ พฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่เป็นไปเอง (spontaneous)ไม่มีการเตรียมการหรือางแผนที่จะให้เกิด พฤติกรรมร่วมกับกลุ่มที่รวมกันเพื่อแสดงพฤติกรรมร่วม  การจัดโครงสร้างของกลุ่ม เป็นกลุ่มแบบหลวมๆ (unstructured) สมาชิกกลุ่มมีอารมณ์ที่พร้อมจะถูกกระตุ้นให้โกรธแค้น แสดงความรนุ แรงได้ตลอดเวลา (emotional) และเราไม่สามารถคาดคะเนหรือทำนายได้ว่าพฤติกรรมของกลุ่มหรือฝูงชนจะเป็ฯไปในทิศทางใดหรือลงเอยอย่างไร (unpredictable) พฤติกรรมของฝูงชนจะเกิดขึ้นเพื่อตอบโต้กับสถานการณ์ (event)  บุคคล (person)  หรือการกระทำของบุคคลหรือ  กลุ่มใดๆ (action) ในแต่ละสังคมการเกิดพฤติกรรมรวมหมู่จะมีมากหรือน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นกับสภาพแวดล้อมของสังคมนั้น ๆ นักสังคมวิทยา Neil Smelser ได้สร้างทฤษฎีที่อธิบายปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมรวมหมู่  (Precondition of collective behavior)  เอาไว้ว่า พฤติกรรมหรือการร่วมหมู่เป็นพฤติกรรมที่ไม่มีสาเหตุ มิใช่เกิดขึ้นโดยไร้เหตุผล สาเหตุ ของพฤติกรรมรวมหมู่จะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างสังคม และสังคมและการสะสมความเครียดภายในสังคมทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบรวมตัวกันเพื่อโต้ตอบกับสถานการณ์ที่พวกเขาเผชิญอยู่ทฤษฎีของ Smelser สรุปขั้นตอนการเกิดพฤติกรรมรวมหมู่เป็น 6 ขั้น ได้แก่
1. โครงสร้างสังคมที่เอื้อ Structural conduciveness
2. ความเครียดอันเกิดจากโครงสร้างสังคม Structural strain
3. การแพร่กระจายความเชื่อ Generalized belief
4. ปัจจัยกระตุ้น Precipitating factors
5. การมีพฤติกรรมรวมหมู่ของฝูงชน Mobilization for action
6. การเข้าควบคุมขององค์กรต่าง ๆ ภายในสังคม Operation of social control

คำกรวดน้ำแบบพื้นเมืองล้านนา

อิทังทานะกัมมัง นิพพานะ ปัจจะโย โหนตุ โน นิจจัง
อิทังสีละกัมมัง นิพพานะ ปัจจะโย โหนตุ โน นิจจัง
อิทังภาวนากัมมัง นิพพานะ ปัจจะโย โหนตุ โน นิจจัง
ยังกิญจิกุสะลัง กัมมังกัตตัพพัง สัพเพหิ กะตัง ปุญญังโน อนุโมทันตุ สุณันตุ โภนโต เย เทวา อัสสะมิงฐาเน อาทิคะตา ทีฆายุกา สะทา โหนตุ
สัพเพสัตตา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ มาตาปิตโร สุขิตาโหนตุ ทุกขา ปะมุญจันตุ
สัพเพ ญาตะกา สุขิตา โหนตุ ทุกขา ปะมุญจันตุ
สัพเพ อัญญาตะกา สุขิตา โหนตุ ทุกขา ปะมุญจันตุ
สัพเพ ปิสาจา สัพเพยักขา สัพเพเปตา จะ สุขิตาโหนตุ ทุกขา ปะมุญจันตุ
สัพเพ นักขัตตา สุขิตาโหนตุ ทุกขา ปะมุญจันตุ
สัพเพ เทวาสุขิตาโหนตุ ทุกขา ปะมุญจันตุ
สัพเพ อาจะริยุปัชฌายา สุขิตาโหนตุ ทุกขา ปะมุญจันตุ สัพพะสัมปัตติโย สะมิชฌันตุโว ฯ

เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน

เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน

          ดอกหาง นกยูง สีแดงฉาน    บานอยู่เต็มฟากสวรรค์
คนเดินผ่าน ไปมากัน                     เขาด้นดั้น หาสิ่งใด
          ปัญญา มีขาย ที่นี่หรือ         จะแย่งซื้อ ได้ที่ไหน
อย่างที่โก้ หรูหรา ราคาเท่าใด        จะให้พ่อ ขายนา มาแลกเอา
          ฉันมา ฉันเห็น ฉันแพ้           ยินแต่ เสียงด่า ว่าโง่เง่า
เพลงที่นี่ ไม่หวาน เหมือนบ้านเรา    ใครไม่เข้า ถึงพอ เขาเยาะเย้ย
          นี่จะให้ อะไร กันบ้างไหม      มหาวิทยาลัย ใหญ่โตเหวย
แม้นท่าน มิอาจให้ อะไรเลย            วานนิ่งเฉย อย่าบ่น อย่าโวยวาย
          ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง       ฉันจึง มาหา ความหมาย
ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย          สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว
          มืดจริงหนอ สถาบัน อันกว้างขวาง    ปล่อยฉัน อ้างว้าง ขับเคี่ยว
เดินหา ซื้อปัญญา จนหน้าเซียว       เทียวมา เทียวไป ไม่รู้วัน 
          ดอกหาง นกยูง สีแดงฉาน    บานอยู่เต็ม ฟากสวรรค์
เกินพอ ให้เจ้า แบ่งปัน                   จงเก็บกัน อย่าเดิน ผ่านเลยไป

[บทกวีบทนี้อยู่ในหนังสือชื่อ ฉันจึงมาหาความหมาย แต่งโดย วิทยากร เชียงกูล]

ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน

Accountability (ความรับผิดชอบในหน้าที่)
ความหมาย :    จิตสำนึกและความรับผิดชอบในหน้าที่ โดยเอาใจใส่มุ่งมั่นให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ร่วมรับผิดชอบในภารกิจและเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กร
ระดับ 1 developing : รับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และพร้อมต่อการพัฒนา
-ปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทันกำหนดภายใต้คำแนะนำ
-รับรู้สภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานของตนเอง โดยรายงานอุบัติการณ์ ปัญหา หรือความผิดพลาดสำคัญทุกครั้ง
ระดับ 2 Performer : ตั้งใจปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย
-ปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายตามนโยบายและแผนเสร็จทันเวลาที่กำหนด ด้วยตนเอง
-รับรู้สภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน โดยเสนอปัญหาให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ
-วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่มีผลกระทบต่องานได้
ระดับ 3  Achievement : มุ่งมั่นในความสำเร็จของหน่วยงาน
-วางแผนการดำเนินงานและปฏิบัติจนบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
-รับรู้ วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ สภาพปัญหา และสภาพแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก และมีการวางแผนเตรียมรับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
ระดับ 4  Role model : เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน
-มีพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอจนเป็นที่ยอมรับเป็นแบบอย่าง
-พัฒนาและสร้างสรรค์งานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
ระดับ 5 Inspire culture : สร้างวัฒนธรรมองค์กรในการปฏิบัติงาน
-สร้างบรรยากาศ สนับสนุน  ส่งเสริม  และผลักดันให้บุคลากรมีจิตสำนึก และความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ดีในการปฏิบัติงาน 

6 เมษายน 2555

กลอนธรรมะสอนใจของท่านพุทธทาส3


กลอนธรรมะสอนใจของท่านพุทธทาส2


กลอนธรรมะสอนใจของท่านพุทธทาส


คำกลอนสอนใจของพระพุทธทาส

          วันนี้อ่านพบบทกลอน คำสอนของท่านพุทธทาส ที่จริงเคยได้อ่านมาบ้างแล้วเฉพาะสองบทแรก ส่วนบทต่อนั้นไม่เคยได้อ่าน ไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นการเขียนต่อจากผู้อื่นหรือไม่ แต่ก็เป็นคำสอนทีกินใจ เอาไว้ให้คนที่มองว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น
           เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา        จงเลือกเอาส่วนดีเขามีอยู่
เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู                  ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย
           จะหาคนมีดีโดยส่วนเดียว            อย่ามัวเที่ยวค้นหาสหายเอ๋ย
เหมือนเพียรหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย       ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง
           ไม่ควรฟุ้งฟื้นฝอยหาตะเข็บ          ถ้าเผลอมันกัดเจ็บจะยุ่งขิง
เสียเวลาไม่คุ้มค่าควรประวิง                    ทุกทุกสิ่งมองแต่ดีมีอยู่พอฯ
           เห็นเขาดีเลวบ้างช่างหัวเขา         มองตัวเรามีเลวบ้างอย่างเขาไหม
จะนินทาริษยาเขาทำไม                         รีบแก้ไขชั่วของเราให้เบาบาง
           มองเขาชั่วมันมาชั่วที่ตัวเรา         ชั่วของเขาเพิ่มให้เราไม่รู้สร่าง
มองแต่ดีชั่วของเราค่อยเพลาบาง            เพราะอาจขนางที่เขามีดีกว่าเรา
           ถ้ามองดีของตัวต้องระวัง            มักจะพลั้งเกินงามด้วยความเขลา
ให้ตัวดีจนเกินดีมีแต่เงา                         เอาจริงเข้าก็เปล่าเราหมดดี
...