12 สิงหาคม 2555

คำคม ขงเบ้ง

1. ถ้าคุณคิดจะเป็นใหญ่ คุณก็จะได้เป็นใหญ่ ถ้าคุณคิดอยากเป็นอะไรคุณก็จะได้เป็นสิ่งนั้น
2. เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"
3. นกทำรังให้ดูไม้ ข้าเลือกนายให้ดูน้ำใจ
4. ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด
5. ผู้ที่เล็กที่สุด ก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด
6. ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น
7. ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี
8. ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
9. เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว เดินหมากรุกยังต้องคิด เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร
10. เมื่อใครสักคนหนึ่งทำผิด ท่านอย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่าเขา เพราะถ้าท่านเป็นเขา และตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับเขา ท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้
11. การบริหารคือการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น
12. ผู้ปกครองระดับธรรมดา ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่
13. ผู้ปกครองระดับกลาง ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่
14. ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่
15. อ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น
16. เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ใช่" หรือ "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "อาจจะ"
17. เมื่อนักการฑูตพูดว่า "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "ไม่"
18. เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ไม่" เขาไม่ใช่นักการฑูต เพราะนักการฑูตที่ดีจะไม่ปฏิเสธใคร
19. เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ไม่" หล่อนมีความหมายว่า "อาจจะ"
20. เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "อาจจะ" หล่อนมีความหมายว่า "ใช่" หรือ "ได้"
21. เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ใช่" หรือ "ได้" หล่อนไม่ใช่สุภาพสตรี
22. สุภาพสตรีจะไม่ตอบรับใครง่ายๆ
23. คิดทำการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อย
24. ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถมองเห็นคิ้วของตน
25. คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับผลได้ระยะสั้นเท่านั้น แต่คนฉลาดอย่างแท้จริงจะมองไปยังอนาคต

[ข้อมูลจาก  http://www.bentoweb.com]

5 สิงหาคม 2555

มาตรฐาน

          เรามักได้ยินคำว่า "มาตรฐาน" อยู่ค่อนข้างบ่อยในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะคำว่า "สองมาตรฐาน" แล้วก็ทะเลาะกัน โดยข้อเท็จจริง มาตรฐาน นั้น ไม่มี เหตุที่กล่าวอย่างนี้เพราะ มาตรฐานเ็ป็นเพียงเกณฑ์กำหนดขั้นต่ำที่ยอมรับได้ คำว่ายอมรับได้ คือการยอมรับได้ของคนส่วนใหญ่ แต่คนมักคำนึงถึงความต้องการ และประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก มาตรฐานจึงเป็นเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเป็นชั่วครั้งชั่วคราว ตามสถานการณ์ของความต้องการของคนในสังคมยุคนั้น ๆ แม้ในช่วงเวลาเดียวกัน การเทียบกับเกณฑ์ก็ยังไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ขึ้นอยู่กับ อคติ ของผู้กำกับมาตรฐาน ว่าโน้มเอียงไปทางใด ดังนั้น คำ "สองมาตรฐาน" ย่อมไม่มี หากแต่มี อคติ 4 ที่ทำให้ การบังคับใช้มาตรฐานผิดเพี้ยน มาตรฐานจึงมีเพียงมาตรฐานเดียวในยุคนั้น ๆ การผิดเพีัยนจึงเป็นเรื่องของคน