7 เมษายน 2555

พฤติกรรมรวมหมู่ (COLLECTIVE BEHAVIOR)


          พฤติกรรมของสมาชิกสังคมโดยทั่วไป มักจะเป็นไปตามความคาดหวังของสมาชิกอื่น ๆ ในสังคม แต่ในบางกรณพี ฤติกรรมของบุคคลปกติก็ไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวัง หรือตามบรรทัดฐานของสังคม และอาจมีพฤติกรรมซึ่งคนปกติทั่วไปไม่กระทำ เพราะเห็นว่าน่าเกลียด หรือโหดร้ายผิดมนุษย์ เหตุใดพฤติกรรมเช่นนี้จึงเกิดขึ้นกับปุถุชนทั่วไปในสังคมได้ เป็นเรื่องที่นักสังคมวิทยาให้ความสนใจศึกษาถึงสาเหตุ และปัจจัยที่นำ ไปสู่พฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งเราเรียกว่าพฤติกรรมรวมหมู่
พฤติกรรมรวมหมู่ เป็นพฤติกรรมของฝูงชนที่เกิดขึ้น เมื่อกลุ่มคนพบสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ไม่มีบรรทัดฐานและกฎให้ยึดถือพฤติกรรมที่พวกเขาตอบโต้สถานการณ์นั้นจึงอาจแตกต่างอย่างมากจากเวลาปกติความหมายของพฤติกรรมรวมหมู่ (collective behaviors) คือ พฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่เป็นไปเอง (spontaneous)ไม่มีการเตรียมการหรือางแผนที่จะให้เกิด พฤติกรรมร่วมกับกลุ่มที่รวมกันเพื่อแสดงพฤติกรรมร่วม  การจัดโครงสร้างของกลุ่ม เป็นกลุ่มแบบหลวมๆ (unstructured) สมาชิกกลุ่มมีอารมณ์ที่พร้อมจะถูกกระตุ้นให้โกรธแค้น แสดงความรนุ แรงได้ตลอดเวลา (emotional) และเราไม่สามารถคาดคะเนหรือทำนายได้ว่าพฤติกรรมของกลุ่มหรือฝูงชนจะเป็ฯไปในทิศทางใดหรือลงเอยอย่างไร (unpredictable) พฤติกรรมของฝูงชนจะเกิดขึ้นเพื่อตอบโต้กับสถานการณ์ (event)  บุคคล (person)  หรือการกระทำของบุคคลหรือ  กลุ่มใดๆ (action) ในแต่ละสังคมการเกิดพฤติกรรมรวมหมู่จะมีมากหรือน้อยไม่เท่ากัน ขึ้นกับสภาพแวดล้อมของสังคมนั้น ๆ นักสังคมวิทยา Neil Smelser ได้สร้างทฤษฎีที่อธิบายปัจจัยที่ทำให้พฤติกรรมรวมหมู่  (Precondition of collective behavior)  เอาไว้ว่า พฤติกรรมหรือการร่วมหมู่เป็นพฤติกรรมที่ไม่มีสาเหตุ มิใช่เกิดขึ้นโดยไร้เหตุผล สาเหตุ ของพฤติกรรมรวมหมู่จะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างสังคม และสังคมและการสะสมความเครียดภายในสังคมทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบรวมตัวกันเพื่อโต้ตอบกับสถานการณ์ที่พวกเขาเผชิญอยู่ทฤษฎีของ Smelser สรุปขั้นตอนการเกิดพฤติกรรมรวมหมู่เป็น 6 ขั้น ได้แก่
1. โครงสร้างสังคมที่เอื้อ Structural conduciveness
2. ความเครียดอันเกิดจากโครงสร้างสังคม Structural strain
3. การแพร่กระจายความเชื่อ Generalized belief
4. ปัจจัยกระตุ้น Precipitating factors
5. การมีพฤติกรรมรวมหมู่ของฝูงชน Mobilization for action
6. การเข้าควบคุมขององค์กรต่าง ๆ ภายในสังคม Operation of social control

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น